ศิลปศึกษา


 ศิลปะกับคอมพิวเตอร์  
             
                 Computer Art  หมายถึง  งานศิลปะอันเกิดจากการผลิตของเครื่องคอมพิวเตอร์ใน ค.ศ. 1935  อลัน  ทูริ่ง  ได้สร้างจักรกลการคำนวณนี้เรียกว่า  ทูริ่ง  แมชชีน  ซึ่งมุ่งเน้นการคำนวณต่อมาทูริ่งได้พัฒนามาเป็นคอมพิวเตอร์  เรียกว่า ACE Automatic  Computing  Engine )  ในยุคแรกคอมพิวเตอร์เริ่มใช้หลอดสุญญากาศแทนวงจรในการคำนวณ  ต่อมาในทศวรรษที่ 1950 ได้มีการสร้างทรานซิลเตอร์ที่มีขนาดเล็กแทนหลอดสุญญากาศ  ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นมีขนาดเล็ก การทำงานของคอมพิวเตอร์จึงมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ทางด้านคณิตศาสตร์  ด้านวิทยาศาสตร์  ด้านการแพทย์  ด้านการทหาร ในด้านศิลปะได้ปรากฏแก่สายตาครั้งแรก  ในการเปิดตัวของงานนิทรรศการคอมพิวเตอร์กราฟิก  ต่อมา  มิเชล  นอล ได้ผลิตศิลปะคอมพิวเตอร์ขึ้นได้ร่วมการแสดงศิลปะคอมพิวเตอร์ในนครนิวยอร์ก  งานของได้แสดงรูปโค้งที่ ซ้ำ ๆ กัน  ซึ่งงานของเขามีลักษณะคล้ายกับงาน OP ARE  หรือการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต่อเนื่องกันซึ่งคอมพิวเตอร์มีบทบาทในทุก ๆ วงการของสังคม  และบทบาทที่สำคัญ  คือ ด้านที่เกี่ยวกับศิลปะจะเป็นด้านการประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบ  การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างงานศิลปะทั้งด้านวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ที่มีตั้งแต่งานด้านทัศนศิลป์  ด้านดนตรี  ด้านศิลปะการแสดง  ด้านสถาปัตยกรรม  รวมถึงด้านนันทนาการด้วย  การประยุกต์สร้างงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์มีจุดเด่น  คือ  ช่วยให้ศิลปะสามารถออกแบบต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำ  สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้  แบบที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์จะมีความแปลกตาน่าสนใจ  เพราะสามารถสร้างได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว  รวมถึงการสร้างเสียงต่าง ๆ ประกอบในผลงานศิลปะได้อีกด้วย



                                                                       
                                                                           รูปที่ 4.1 ศิลปะกับคอมพิวเตอร์

       ภาพศิลปะกับคอมพิวเตอร์ 
            
             การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆ ก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี  แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทนภาพที่วาด  ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้เราสามารถกำหนดสีแสง เงา รูป แบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย  ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก  ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือเราสามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย นอกจากนี้เรายังสามารถนำภาพต่าง ๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข
          ภาพยนตร์การ์ตูนและภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์  หรือภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว (Computer Animation) มากขึ้น เช่น ภาพยานอวกาศที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ภาพที่อยู่ในจิตนาการของมนุษย์สามารถนำออกมาทำให้ปรากฏเป็นจริงได้
          ภาพเคลื่อนไหวจึงมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา  การอบรม  การวิจัย  และการจำลองการทำงาน  เช่น  จำลองกรขับรถ  การขับเครื่องบิน  เกมคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกม  ก็ใช้หลักการทำเคลื่อนไหวจึงมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา  การอบรม  การวิจัย  และการจำลองการทำงาน  เช่น  จำลองกรขับรถ  การขับเครื่องบิน  เกมคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกม  ก็ใช้หลักการทำภาพเคลื่อนไหวในคอมพิวเตอร์กราฟิกเช่นกัน







                                                                  รูปที่ 4.2 ศิลปะจากคอมพิวเตอร์
      การออกแบบกราฟิก 

           งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อโดยเฉพราะอย่างยิ่งสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา  ได้แก่ หนังสือ  นิตยสาร วารสาร แผ่นป้าย บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ  แผ่นปลิว  โทรทัศน์  โฆษณา ภาพยนตร์  นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและวิธีการทางการออกแบบร่วมกันสร้างรูปแบบสื่อ  เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร  วิธีการออกแบบและวิธีแก้ปัญหาการออกแบบ โดยการนำเอารูปภาพประกอบ ภาพถ่าย  สัญลักษณ์  รูปแบบ ขนาดตัวอักษรมาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการสื่อความหมาย
        
          ความหมายองการออกแบบกราฟิก
         
            เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว มิติเพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อความความรู้สึกนึกคิด  และอารมณ์จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง  เพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  งานกราฟิกมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก  สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาจะโน้มน้าวจิตใจได้ดีกว่าการรับรู้ประเภทอื่น  งานกราฟิกที่ดีต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วย  นับตั้งแต่หลักการเบื้องต้นของศิลปะ  รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตวัสดุกราฟิก  นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบกราฟิกด้วย  เพื่อที่จะสามารถพัฒนางานออกแบบให้ทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลตลอดเวลา                                                           


                                                                รูปที่ 4.3 การออกแบบกราฟิก

            คุณค่าของงานกราฟิก
          งานกราฟิกชิ้นที่ดีจะทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศจะมีอิทธิพลโดยตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูลให้เกิดความสนใจและยอดรับ  และในขณะเดียวกันก็ยังแสดงถึง






1.        เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน  จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
2.         สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้   เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
3.         ช่วยทำให้เกิดความน่าสนใจ  ประทับใจ  และน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น
4.         ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิดและการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
5.         ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
6.        ทำให้ผู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งทางด้านการกระทำและความคิด
เด็กควรรู้
คอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphics) หรือในโทรศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ (computing Methodology) ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพโดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตังอักษร หรือสัญญาณต่างๆแทนตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง

      ความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก  
         คอมพิวเตอร์กราฟิก ( Computer Graphics ) หมายถึง  การสร้าง  การจัดการ  การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพกราฟิก  โดยการนำข้อมูลมาสร้างเป็นภาพ  เส้นกราฟ  แผนภาพ  แผนภูมิ  หรืออาจนำภาพมาจากสื่ออื่น ๆ เช่น  ภาพจากเครื่องสแกน  จากกล้องดิจิตอล  จากวีดีทัศน์หรือจากภาพยนตร์มาทำการตัดต่อให้เป็นไปตามต้องการหรือตกแต่งภาพให้ดีขึ้นคอมพิวเตอร์กราฟิกอาจหมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ  โดยใช้ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพ



                                              รูปที่ 4.4 ระบบคอมพิวเตอร์กับการออกแบบงานกราฟิก
         
หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
        
              ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์  เกิดจากการทำงานโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง ( Red ) สีเขียว ( Green ) และสีน้ำเงิน ( Blue ) โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงองสีทั้ง สีมาผสมกัน  ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล ( Pixel ) ซึ่งมาจากคำว่า  Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี   เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี ประเภท  คือ แบบ Rasterกับ Vector
          
            หลักการของกราฟิกแบบ Raster
          หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล  ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการ



สร้างถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย  เมื่อยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นสุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้น  การกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดจำนวนพิกเซลให้เหมาะกับงานที่สร้าง  คือ  ถ้าต้องการใช้งานทั่วไปจะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150ppi จำนวนพิกเซลต่อ 1ตารางนิ้ว   ถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก  เช่น  ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดพิกเซลประมาณ 72 ppi และถ้าเป็นงานพิมพ์  เช่น   นิตยสารโปสเตอร์ขนาดใหญ่จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350 ppi เป็น                                                                  



                                                                  รูปที่ 4.5 ภาพแบบ Raster

   หลักการของกราฟิกแบบ Vector
          หลักการองกราฟิกแบบ Vector  เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจาการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณ  ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกันโดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง  เส้นโค้ง  รูปทรง  เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง  แฟ้มจะมาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector  นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายในการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร   การออกแบบรถยนต์  การสร้างโลโก้  การสร้างานการ์ตูน  เป็นต้น 

                                                                    รูปที่ 4.6 ภาพแบบ Vector
        
          หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์
          สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปมี ระบบ คือ
1.       RGB    2.CMYK   3.HSB    4.  LAB
RGB
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี สีคือ สีแดง เขียว และสีน้ำ
เงิน  เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นแกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มข้นมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่า แบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
                                                                                              





                                                                     รูปที่ 4.7 สีแบบ RGB

CMYK
          เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก  4 สีคือ สีฟ้า สีม่วงแดง สีเหลือง และสีดำ ไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีองระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB
    

                                                                                     
                                                                   รูปที่ 4.8   สีแบบ CMYK

          HSB
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์  ซึ่งแบ่งเป็น ส่วน คือ
Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง เป็นต้น
Saturation คือ ความสดของสีโดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
Brightness คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด                                         

                                                            รูปที่ 4.9 สีแบบ HSB

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

          น้ำตกวังสายทองสถานที่ท่องเที่ยวทาางธรรมชาติที่สวยงาม เเสงแดดจ้าทำให้แสบตา ขอเชิญชวนคนไทยเที่ยวเมืองไทยชมธรรมชาติของสตูล